กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553 คะแนน 200 คะแนน

ส่งงาน


ตอบ 4  สายใยอาหาร ( food web)

         ในกลุ่มสิ่ิงมีชีวิตหนึ่งๆ ห่วงโซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระ แต่ละห่วงโซ่อาหารอาจ
มีความสัมพันธ์ กับห่วงโซ่อื่นอีก โดยเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร
อาจเป็นอาหาร ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในห่วงโซ่อาหารอื่นก็ได้  เราเรียกลักษณะห่วงโซ่อาหารหลายๆ   ห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่า  สายใยอาหาร (food web) สายใยอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตใดที่มีความซับซ้อนมาก แสดงว่าผูู้ั้้้้้้้้้บริโภคลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3
มีทางเลือกในการกินอาหารได้หลายทางมีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/food_web.html


ตอบ 4
การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"

ที่มา ::   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87


ตอบ 2   
       สาร CFC หรือสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน  เป็นสารประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้นมิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ แอร์ในรถยนต์ และจากสเปรย์ฉีดพ่น สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโพรวีน ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำลายโอโซนชั้นบรรยากาศของโลกได้ ส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี ส่งมายังโลกได้มากกว่าปรกติและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น ก่อให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังได้
ที่มา http://nstda.or.th/index.php/vdo-nstda/sci-day-techno/1696-cfc


ตอบ 4 ไวรัส
         เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)
ที่มา :: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA


ตอบ 1
ส่วนประกอบของเซลล์พืช
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)  เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้

2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ (Semipermeable Membrane)

3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้
           3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์

           3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast) เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียวเพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
           3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์

           3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

          3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์
          3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบของนิวเคลียสมีดังนี้
           4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสีประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
           4.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียสจะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
           4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA  TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน
ที่มา  ::    http://www.oknation.net/blog/taweeporn/2009/03/02/entry-1


ตอบ 4  เซลล์เหมือนเดิม
การออสโมซิสของน้ำในสภาพความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ
จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยกระบวนการออสโมซิส
พบว่า เมื่อนำ เซลล์เม็ดเลือดแดงไปใส่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างๆ
แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)
        ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลงสารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %
2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)
        สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
       ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
       ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
3. สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)
       สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis
       ในเซลล์พืชจะทำให้โพรโทพลาซึมหดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์
แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์
 
 
 ตอบ  การลําเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต (active  transport)
       เป็นการแพร่ของสารโดยใช้โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวพา
และใช้พลังงานจาก ATP (adenosine triphosphate) ซึ่งสามารถทําให้อนุภาคของสาร
จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์สู่บริเวณที่มีความเข้มข้น
ของสารมากกว่าได้
 
ตอบ 1  โปรตีน
         เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เองโปรตีนเป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่นเดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบไฮเดรต) และกรดนิวคลีอิก (สารพันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838)

หน้าที่

  • โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หรือหน่วยย่อยของเอนไซม์
  • โปรตีนทำหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง เช่น ระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) ผม เส้นไหม
  • โปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น แอกติน ไมโอซิน
  • เป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น แอนติบอดี
  • ขนส่งสารภายในระบบร่างกาย เช่น ฮีโมโกลบิน
  • เป็นแหล่งสำรองพลังงานยามขาดแคลน เช่นโปรตีนในเมล็ดข้าวและน้ำนม
  • โปรตีนที่เป็นฮอร์โมน
  • โปรตีนให้ความหวานในพืช
  • โปรตีนป้องกันการแข็งตัวของเลือดในปลาที่อยู่ในแถบขั้วโลก
  • โปรตีนช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่

โครงสร้างของโปรตีน

ลำดับของกรดอะมิโนจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนนั้นๆ โดยทั่วไป โปรตีนมีโครงสร้างสามมิติสี่ระดับด้วยกันคือ
         โครงสร้างปฐมภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงพันธะระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัว
โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนที่อยู่ใกล้กัน โปรตีนทุกชนิดจะมีโครงสร้างระดับนี้ โดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบ อัลฟาเฮลิก สายเปบไทด์ขดเป็นเกลียว กับแบบเบตา สายเปบไทด์อยู่ในรูปซิกแซก
โครงสร้างตติยภูมิ แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนตลอดทั้งสาย พบในโปรตีนที่เป็นก้อน การจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของสายโพลีเปบไทด์นั้นขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับ
โครงสร้างจตุยภูมิ แสดงการจับตัวระหว่างสายโพลีเปบไทด์ พบในโปรตีนที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย (subunit) โดยแต่ละหน่วยย่อยคือสายโพลีเปบไทด์หนึ่งเส้น การจัดตัวขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับเช่นเดียวกัน
 
ตอบ 1 เหงือก
        ปลามีการขับถ่ายของเสียที่เป็นน้ำและสารไอออนอนินทรีย์ออกทางปัสสาวะ โดยอาศัยการทำงานของไต นอกจากนี้ยังอาศัยเหงือก ผิวหนัง เยื่อบุภายในช่องปาก และทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่ายของเสียพวกไนโตรเจน (nitrogenous waste และ ammonia) ด้วย
 
ตอบ 3  กำจัดน้ำ
         Contractile vacuole ออร์แกแนลที่มีลักษณะเป็นถุง พบในโพรโทซัวน้ำจืดหลายชนิดเช่น อะมีบา พารามีเซียม ทำหน้าที่ขับถ่ายน้ำที่มากเกินความต้องการ และของเสียที่ละลายน้ำออกจากเซลล์และควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ให้พอเหมาะด้วย


ตอบ 2 
เมแทบอลิซึมหมายถึงปฏิกิริยาเคมีต่างๆที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิต   โดยมีเอนไซม์เข้าร่วมปฏิกิริยา เมแทบอลิซึมมี 2 ประเภทคือ
1. แอนาบอลิซึม ( Anabolism)                          
เป็นกระบวนการสร้างสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่จากสารโมเลกุลเล็ก    โดยใช้พลังงานจากเซลล์เช่นการสร้างโปรตีนไขมันคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ซึ่งมีผลทำให้เซลล์เกิดการเติบโต
2. คาแทบอลิซึม ( Catabolism)
เป็นกระบวนการสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก เช่นการย่อยอาหารการหายใจโดยเฉพาะการหายใจจะทำให้ได้พลังงานในรูป ATP ( adenosine triphosphate ) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสารพลังงานสูงนี้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการแอนาบอลิซึมต่อไป
 
ตอบ 2
มหัศจรรย์ น้ำนมแม่
แหล่งของโปรตีนสำคัญ 
ถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้ว โปรตีนในนมแม่จะมีปริมาณต่ำกว่านมผสม (นมกระป๋อง) ค่ะ แต่อย่าเพิ่งตกใจไป นั่นก็เพราะสำหรับนมแม่แล้วจะมีโปรตีนที่ลูกต้องการอยู่ครบถ้วน และสามารถย่อยง่ายทั้งดูดซึมได้ดี ต่างจากนมกระป๋องซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีน (และสารอาหารอื่นๆ) เยอะเพราะย่อยได้ยากกว่า และลูกดูดซึมไปใช้ได้ไม่ดีเท่านมแม่ ก็เลยต้องมีโปรตีนอยู่เยอะๆ เผื่อเอาไว้ไงคะ ทีนี้เรามาดูโปรตีนตัวสำคัญที่มีในน้ำนมแม่กันค่ะ
        อัลฟ่า-แลคตัลบูมิน เป็นโปรตีนที่พบมากเลยในน้ำนมแม่ช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้ดีและไม่ทำให้ลูกรักเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยค่ะ ต่างจากโปรตีนในนมผสม (นมวัว) ชื่อ เบต้า-แลคตัลบูมิน ที่หากลูกรับประทานเข้าไป อาจไปกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่าย
       taurine (ทอรีน) ที่มีอยู่แล้วในน้ำนมแม่ช่วยบำรุงสมองลูกและยังช่วยพัฒนาเรื่องการมองเห็นได้ดีอีกด้วยค่ะ
       lactoferrin (แลคโตเฟอร์ริน) โปรตีนที่ย่อยได้ง่ายกว่าโปรตีนในนมผม ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร และยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถจับกับธาตุเหล็กในลำไส้ได้ ทำให้แบคทีเรียซึ่งต้องใช้โมเลกุลของธาตุเหล็กอิสระช่วยในการเจริญเติบโตไม่สามารถเจริญเติบโตต่อได้ จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อในลูกได้ค่ะ
 
วัคซีนหยดแรก
          ลูกเกิดมาใหม่ๆ ยังสร้างภูมิคุ้มกันเองได้ไม่ดีค่ะ เลยยังไม่ค่อยมีภูมิต้านทานเชื้อโรคมากเท่าผู้ใหญ่ แต่ลูกยังสามารถรับภูมิต้านทานโรคได้จากนมแม่ ถ้าแม่เคยไม่สบายเป็นโรคใดมาก่อนละก็ ร่างกายของคุณแม่ก็จะสร้างภูมิป้องกันเชื้อโรคชนิดนั้นๆ ไว้ด้วย และภูมิคุ้มกันนั้นก็สามารถส่งผ่านให้ลูกรักได้ทางนมแม่ค่ะ

โคลอสตรัม
        โคลอสตรัมคือน้ำนมใสสีเหลืองซึ่งอยู่ในน้ำนมแม่ในระยะแรกๆ หรือจะเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าหัวน้ำนมนั่นเองค่ะ โคลอสตรัมจะมีภูมิคุ้มกันสูง และยังช่วยระบายขี้เทา ทำให้ลูกหายตัวเหลืองเร็วด้วยค่ะ

DHA หรือ Docosahexaenoic Acid 
        ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 ส่วนประกอบชิ้นสำคัญเลยค่ะของไขมันในสมอง ซึ่งลูกรักจะได้รับโดยตรงจากนมแม่นั่นเอง แถม DHA ในน้ำนมแม่นั้นจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปด้วยค่ะ

ไลโซไซม์ (Lysozyme) 
       ในน้ำนมแม่จะมีไลโซไซม์ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อตายค่ะ และไลโซไซม์นี้มีในน้ำนมแม่มากกว่านมวัวถึง 3,000 เท่าเชียว แถมบังไม่สามารถเติมลงในนมกระป๋องได้ เพราะเอนไซม์ต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อนในขั้นตอนที่นำนมผสมไปฆ่าเชื้อก่อนบรรจุกระป๋องค่ะ

สารช่วยป้องกันแบคทีเรีย
       ในน้ำนมแม่มี Bifidus Growth Factor หรือสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแล็กโตบาซิลลัส (ซึ่งไม่มีในน้ำนมวัว) และเจ้าเชื้อแล็กโตบาซิลลัสนี้จะช่วยให้เกิดกรดอินทรีย์ในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียอื่นๆ ทั้งหลายอยู่ไม่ได้ (นั่นเพราะแบคทีเรียที่เป็นอันตรายกับร่างกายเราหลายขนิดแพ้สภาพความเป็นกรดค่ะ)
       นอกจากนี้แล็กโตสในน้ำนมแม่เองก็ยังเปลี่ยนเป็นกรดแล็กติกไปช่วยให้ลำไส้มีสภาพเป็นกรดจนแบคทีเรียไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกแรงหนึ่งด้วยค่ะ
      แต่หากลูกน้อยเรารับประทานนมผสมแทนละก็ จะทำให้ในลำไส้มีสภาพเป็นด่าง ซึ่งเป็นตัวกลางอย่างดีในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอุจจาระร่วง ทำให้ลูกมีโอกาสสูงที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร อย่างเช่น ท้องอืด ท้องเสีย แถมอุจจาระของลูกยังมีกลิ่นรุนแรงกว่าได้นมแม่อีกค่ะ
มากประโยชน์ มากคุณค่าจริงๆ ด้วยใช่ไหมคะ นมแม่แถมยังได้มาฟรีๆ ไม่ต้องไปหาซื้อให้เปลืองกะตังค์อีกตะหาก แล้วอย่างนี้จะอดใจไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไรไหวใช่ไหมคะ
 
ตอบ  1
       แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region
 
ตอบ  2  การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) เป็น การแบ่งเซลล์เพศ (sex call) 
ในสัตว์จะพบการแบ่งเซลล์
แบบไมโอซิสในรังไข่ และอัณฑะ ในพืชพบในเรณูหรือรังไข่เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์
ถึงแม้ใช้อวัยวะที่แตกต่างกันแต่กระบวนการนั้นยังมีรูปแบบที่เหมือนกัน กล่าวคือ เซลล์ตั้งต้นจะเรียกว่าแกมีโทโกเนียม (gametogonium) จะแบ่งตัวแบบไมโทซิสเข้าสู่ช่วงแกมีโทไซต์ระยะแรก (primary gametocyte) และแบ่งตัวแบบไมโอซิสเข้าสู่แกมีโทไซต์ระยะที่สอง (secondary gametocyte) แล้วแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอีกครั้งจนได้แกมีทิด (gametid) จำนวน 4 เซลล์ต่อเซลล์แม่ 1 เซลล์ สุดท้ายแกมีทิดจะเจริญไปเป็นสเปิร์มหรือไข่ ซึ่งเป็นแกมีต (gamete) ในขั้นตอนสุดท้าย
 
ตอบ  2  การสังเคราะห์โปรตีนที่ไรโบโซม
       ตัวที่กำหนดชนิดของกรดอะมิโนและการเรียงลำดับของกรดอะมิโน คือ เบสของ mRNA ที่เป็นรหัสพันธุกรรม คือ ลำดับของเบส 3โมเลกุล ใน mRNA ที่เป็นตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโนและการเรียงลำดับของกรดอะมิโน มีอยู่ 61 รหัส

       สิ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ได้แก่ DNA mRNA tRNA ไรโบโซมกรดอะมิโน เอนไซม์ กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนมี 2 ขั้นตอน โดยมีหลักสำคัญดังนี้
       1. กระบวนการถอดรหัส หรือทรานสคริปชัน (transcription) เป็นกระบวนการที่ DNAถ่ายทอดข้อมูล ทางพันธุกรรมให้ mRNA จะนำรหัสการสังเคราะห์โปรตีนไปยังไซโทพลาซึม โดยไรโบโซมหน่วยย่อยขนาดเล็กมาจับกับ mRNA
       2. กระบวนการแปลรหัส หรือทรานสเลชัน (translation) เป็นกระบวนการที่ tRNAนำกรดอะมิโนชนิดที่ตรงกับโคดอนของ mRNA ตามตารางที่ 17.5 รหัสพันธุกรรม เช่น tRNAที่มีแอนติโคดอน CCA จะนำกรดอะมิโนชนิดไกลซีน (Gly) มายังไรโบโซมตรงที่มีโคดอน GGU ของmRNA โดยนำมาเรียงต่อกันบนไรโบโซมตามรหัสพันธุกรรมของ mRN
 
ตอบ 1
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1. เพดดีกรี (pedigree) หรือพงศาวลี เป็นแผนผังในการศึกษาพันธุกรรมของคน ซึ่งแสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัวดังแผนผัง
1.       การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยยีนบนออโทโซม (autosome) และยีนบนโครโมโซมเพศ (sex chromosome)
ในร่างกายคนมีโครโมโซม 46 แท่ง มาจัดเป็นคู่ได้ 23 คู่ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1) ออโทโซม (autosome) คือ โครโมโซม 22 คู่ คู่ที่ 1 - คู่ที่ 22 เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย
2) โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ โครโมโซมอีก 1 คู่ (คู่ที่ 23) สำหรับในเพศหญิงและเพศชายจะต่างกัน โดยเพศหญิงจะเป็นแบบ XX เพศชายจะเป็นแบบ XY โดยโครโมโซม Y จะมีขนาดเล็กกว่าโครโมโซม X
# ยีนบนออโทโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากยีนบนออโทโซม แบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
2.1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนเด่นบนออโทโซม การถ่ายทอดนี้จะถ่ายทอดจากชายหรือหญิงที่มีลักษณะทางพันธุ์แท้ ซึ่งมียีนเด่นทั้งคู่หรือมียีนเด่นคู่กับยีนด้อย นอกจากนี้ ยังมีลักษณะผิดปกติอื่นๆ ที่นำโดยยีนเด่น เช่น คนแคระ ค 2.2 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโทโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติถูกควบคุมโดยยีนด้อย เมื่อดูจากภายนอกทั้งพ่อและแม่มีลักษณะปกติ แต่มียีนด้อยแฝงอยู่ เรียกว่าเป็นพาหะ (carrier) ของลักษณะที่ผิดปกติ
# โรคที่เกิดจากยีนด้อยบนออโทโซม นเป็นโรคท้าวแสนปม เป็นต้น
 
ตอบ 4
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย(Thalassemia)คืออะไร
   คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่เป็นกันในครอบครัวหรือที่เรียกว่า โรคกรรมพันธุ์มีการสร้างสาร ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ลดน้อยลง เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่
   ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia) มีได้สองแบบคือ

1.       เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
2.       เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไป ให้ลูกแต่ละคนด้วย
อาการของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย
โรคธาลัสซีเมีย มีความรุนแรงต่างกันได้มา จะขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.       ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ฟิทัลลิส (Hb Bart's hydrops fetalis)
   เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด จะตายทั้งหมด อาจตามตั้งแต่ในครรภ์ ตายขณะคลอด หรือหลังคลอดเล็กน้อย ทารกมีลักษณะบวมและซีด รกมีขนาดใหญ่ ท้องป่องตับโตมาก ส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกที่เป็นโรคนี้ จะมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์คือ ครรภ์เป็นพิษ มีความดันเลือดสูง บวม มักมีการคลอดที่ผิดปกติ และมีการตกเลือดหลังคลอดด้วย
2.       เบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี (b-thalassemia/Hb E) และ โฮโมซัยกัส เบต้า-ธาลัสซีเมีย (Homozygous b-thalassemia)
   ผู้ป่วยกลุ่มนี้แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ภายในขวบ ปีแรก หรือหลังจากนั้น โดยผู้เป็นโรคชนิดหลัง มักมีอาการรุนแรงกว่าชนิดแรก อาการสำคัญคือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามและตับโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยน จมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบางเปราะหักง่าย ร่างกายแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สมอายุ ในรายที่ซีดมากจำเป็นต้องได้รับเลือด แต่เนื่องจากในเลือดมีธาตุเหล็กมาก ฉะนั้นหากผู้ป่วยได้รับเลือดบ่อย ๆ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ มีธาตุเหล็กเกิน ไปสะสมในอวัยวะต่างๆ มีผลทำให้ผิวคล้ำ เป็นตับแข็ง เบาหวาน หัวใจล้มเหลว เป็นต้น นอกจากนี้ผลจากการสลายของเม็ดเลือดแดง ยังอาจพบนิ่วในถุงน้ำดีด้วย
3.       โรคฮีโมโกลบินเอ็ช (Hb H disease)
   ส่วนใหญ่มีอาการน้อย ยกเว้นบางรายอาการรุนแรงคล้ายเบ ต้า-ธาลัสซีเมียได้ ผู้ป่วยซีดเล็กน้อย บางครั้งมีเหลืองเล็กน้อยร่วมด้วย ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคตับหรือโรคดีซ่าน หากมีไข้ติดเชื้อ ผู้ป่วยพวกนี้จะซีดลงได้มากและเร็ว จนทำให้หัวใจวายได้
 
ตอบ  1  โครโมโซมเพศ sex chromosomes
     โครโมโซมของคน 23 คู่นั้น เป็น ออโตโซม 22คู่ อีก1คู่เป็น โครโมโซมเพศ 

ในหญิงจะเป็นแบบ XX
  • ในชายจะเป็นแบบ XY
โครโมโซม Y มีขนาดเล็กมียีนอยู่เล็กน้อย ได้แก่ ยีนที่ควบคุมขนบนใบหูก็อยู่บนโครโมโซม Y ดังนั้นลักษณะการมีขนบนหูจะถูกถ่ายทอดโดยตรง จากพ่อ ไปยัง ลูกชาย สืบต่อไปยัง หลานชาย และ สืบต่อไปเรื่อยๆในทายาทที่เป็นชาย ดังนั้น การมีขนที่หูจึงไม่ปรากฎในลูกสาวหรือ หลานสาว 
เมื่อเทียบกับ ออโตโซมแล้ว โครโมโซมYคือยีนเด่น(ทำให้มีเพศเป็นชาย) ส่วน โครโมโซมX คือยีนด้อย ต่างกันที่ว่าการจับคู่แบบ YY (เด่นพันธุ์แท้) ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย เนื่องจากคนที่เป็นชายกับคนที่เป็นชายไม่สามารถ ปฎิสนธิ ให้กำเนิดชีวิตใหม่ได้ 
มีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่ อยู่บนโครโมโซม X ได้แก่ ตาบอดสี เลือดใหลไม่หยุด(haemophilia) หัวล้าน ( รวมทั้ง ความเป็นเกย์ ด้วยซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ q28 ของ โครโมโซม X) 
ผู้ชายมี โครโมโซม X เพียงแท่งเดียว ส่วนอีกแท่งเป็น โครโมโซม Y ดังนั้นแม้ได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติติดมากับ โครโมโซม X เพียงตัวเดียว ก็สามารถแสดงลักษณะทางพันธุกรรมนั้นออกมาได้ ส่วนผู้หญิงมี โครโมโซม X อยู่ 2 แท่ง ถ้าได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติติดมากับ โครโมโซม X 1 แท่ง ก็จะยังไม่แสดง อาการของโรคพันธุกรรมให้ปรากฏ ทั้งนี้เพราะยีนปกติที่เหลืออีกตัวจะข่มลักษณะด้อยเอาไว้ ดังนั้นเราจะพบอาการหัวล้าน, ตาบอดสี ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 

ที่มา :: http://www.snr.ac.th/elearning/siriporn/sec01p03.html
 
ตอบ 2
ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไปจากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร
 
ตอบ 3  ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
                                                            Group A    = มียีนส์ AO หรือ AA
   Group B    = มียีนส์ BO หรือ BB
   Group AB  = มียีนส์AB
   Group O    = มียีนส์ OO
คนหมู่เลือด A +A     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด
คนหมู่เลือด AB+AB    = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)

คนหมู่เลือด B+AB     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)

  1. เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
  2.  เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไป ให้ลูกแต่ละคนด้วย

คนหมู่เลือด AB+O     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B 

คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O

คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O

 
 

 

 

1 ความคิดเห็น: